ข้อบังคับของสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนเพื่อสังคมประเทศไทย

- หน้าที่ 3 -

หมวดที่

การดำเนินการสมาคม ( ยกเลิกแก้ไขเพิ่มเติม )

๑๓. คณะกรรมการ

ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตำแหน่งนายกสมาคมหนึ่งคน และให้นายกสมาคมที่ได้รับเลือก

จากที่ประชุมใหญ่มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการบริหารตามมาตรา ( ข้อ ๑๓.เดิม ) ดำรงตำแหน่งตามความ

เหมาะสมเห็นควรเพื่อช่วยในการบริหารงานสมาคม

ประกอบด้วย

- อุปนายกสมาคม (แต่งตั้งตามจำนวนที่นายกสมาคม เห็นสมควร)

- รองนายกสมาคม (แต่งตั้งตามจำนวนที่นายกสมาคม เห็นสมควร)

- ประธานที่ปรึกษาสมาคม

- ที่ปรึกษาสมาคม (แต่งตั้งตามจำนวนที่นายกสมาคม เห็นสมควร)

- เลขาธิการสมาคม

- รองเลขาธิการสมาคม (แต่งตั้งตามจำนวนที่คณะกรรมการ เห็นสมควร)

- เลขานุการสมาคม

- รองเลขานุการสมาคม (แต่งตั้งตามจำนวนที่คณะกรรมการ เห็นสมควร)

๑๔. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารสมาคม

๑๔. นายกสมาคม มีหน้าที่เป็นประธานในการบริหารงานของสมาคม และเป็นผู้แทนของสมาคม

ในกิจการภายนอก และทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการสมาคม และการ

ประชุมใหญ่ของสมาคม

๑๔. อุปนายกสมาคม มีหน้าที่ทำการแทนนายกสมาคมในกรณีที่นายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่อาจที่

จะปฏิบัติหน้าที่ได้และเป็นผู้ช่วยนายกสมาคม และหรือปฏิบัติงานใดๆ ตามที่นายกสมาคม

มอบหมาย ในกรณีที่ทำหน้าที่แทนนายกสมาคม โดยนายกสมาคมมอบให้อุปนายกสมาคม

ทุกลำดับ ทำตามหน้าที่ตามที่นายกสมาคม มอบหมาย

๑๔. รองนายกสมาคม มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการบริหารงานของสมาคมและเป็นผู้แทนของสมาคม

ในกิจการภายนอกและภายในสมาคมตามคำสั่งของนายกสมาคม

๑๔. ที่ปรึกษาสมาคม มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและเป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการภายนอกและ

ภายในสมาคมตามที่ได้รับมอบหมายจากนายกสมาคม

๑๔. เลขาธิการสมาคม เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของสมาคม ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการ และด้าน

การประสานงานทั้งภายนอกและภายในสมาคม มีหน้าที่ประสานงานกับทุกภาคส่วน ทั้ง

องค์กรภาครัฐ และองค์กรภาคเอกชน และองค์กรอื่นๆ ทำหน้าที่บันทึกและเก็บรักษา

รายงานการประชุมต่างๆ ติดต่อกับสมาชิกและบุคคลภายนอกในเรื่องทั่วๆ ไป และกิจการ

อื่นๆ ซึ่งไม่อยู่อำนาจหน้าที่ของกรรมการอื่นใดโดยเฉพาะ

๑๔. เลขานุการ เป็นรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของสมาคม ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการงานธุรการ

เอกสารการประชุมต่างๆ การตรวจสอบนัดหมายการประชุมต่าง และลงนัดหมายตารางการ

ประชุมต่างๆ ประสานงานการประชุมต่างๆ แทนนายกสมาคม ทำบันทึกและเก็บรักษา

รายงานการประชุม ติดต่อกับสมาชิก และบุคคลภายนอกตามคำสั่งนายสมาคม ทำหน้าที่

ติดตามนายกสมาคม อุปนายกสมาคม ที่ปรึกษา รองนายก กรรมการ อนุกรรมการ หรือ

บุคคลภายนอกที่ได้รับการแต่งตั้งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลเข้าสู่

งานธุรการของสมาคม

๑๔. เหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายบัญชี

งบดุลของสมาคมและเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ ของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบ

๑๔. ปฏิคม มีหน้าที่ในการให้การต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ของ

สมาคมและจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่างๆ ของสมาคม

๑๔. นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคมประสานงานกับเหรัญญิก

ในการเรียกเก็บเงินค่าบำรุงสมาคมจากสมาชิก

๑๔.๑๐ ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้สมาชิกและ

บุคคลโดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย

๑๔.๑๑ กรรมการ ตำแหน่งอื่นๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้น

โดยมีจำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้ว จะต้องไม่เกินจำนวนที่ข้อบังคับ

กำหนดไว้ แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กำหนดตำแหน่งไว้ ก็ให้ถือว่าเป็นกรรมการกลาง

งานธุรการของสมาคมคณะกรรมการชุดแรก ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคม เป็นผู้เลือกตั้งกรรมการ ประกอบด้วยนายก

สมาคมและกรรมการอื่น ๆ ตามจำนวนที่เห็นสมควรและตามข้อบังคับของสมาคม

ข้อ ๑๕. คณะกรรมการของสมาคม สามารถอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ ๔ ปี นับตั้งแต่ได้รับการจดทะเบียนและเมื่อคณะกรรมการอยู่ในตำแหน่งครบกำหนดตามวาระแล้วแต่คณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับการอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการก็ให้คณะกรรมการที่ครบกำหนดตามวาระรักษาการไปพลางก่อนจนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่จะได้รับการอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการและเมื่อคณะกรรมการชุดใหม่ได้รับการอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการส่งและรับมอบงานกันระหว่างคณะกรรมการชุดเก่าและคณะกรรมการชุดใหม่ให้เป็นที่เสร็จสิ้นภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับการอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ

ข้อ ๑๖. ตำแหน่งกรรมการสมาคม ถ้าต้องว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระก็ให้คณะกรรมการแต่งตั้ง

สมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควรเข้าดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างลงนั้นแต่ผู้ดำรง

ตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น

ข้อ ๑๗. กรรมการอาจจะพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้ คือ

๑๗. ตาย

๑๗. ลาออก

๑๗. ขาดจากสมาชิกภาพ

๑๗. ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกจากตำแหน่ง

ข้อ ๑๘. กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งกรรมการให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ

คณะกรรมการและคณะกรรมการมีมติให้ออก

ข้อ ๑๙. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร (ให้ยกเลิก ข้อ ๑๓.๑ , ๑๓.๒ , ๑๓.๓ เดิมโดยแก้ไข

เพิ่มเติมดังนี้ )

๑๙. บริหารงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคม

๑๙. กำหนดระเบียบ กฎข้อบังคับ และวิธีการปฏิบัติไม่ขัดต่อข้อบังคับของสมาคม

๑๙. มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ เพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของสมาคม

๑๙. มีหน้าที่ในการหาทุนอุดหนุนสมาคมฯ และจัดกิจกรรมอื่นๆ ตามวัตถุประสงค์ของสมาคม

๑๙. พิจารณารับสมาชิกสามัญ และเชิญเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ รวมทั้งลบชื่อออกจากทะเบียน

สมาชิกตามข้อบังคับของสมาคม

๑๙. รับผิดชอบตรวจตรา-รับจ่าย การทำบัญชี เอกสารและหลักฐานของสมาคมฯ ให้ถูกต้อง

ตลอดจนเก็บรักษาให้ครบถ้วนสมบูรณ์

๑๙. เชิญผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่สมาคม เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการบริหาร

๑๙. มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้อง

ไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้

๑๙. มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม

๑๙.๑๐ มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษา หรือ

อนุกรรมการ จะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง

๑๙.๑๑ มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี และประชุมใหญ่วิสามัญ

๑๙.๑๒ มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่นๆ ที่ยังมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

๑๙.๑๓ มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีอำนาจ

อื่นๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้

๑๙.๑๔ มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงิน และทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม

๑๙.๑๕ มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่สมาชิกสามัญจำนวน ๑ ใน ๕ ของสมาชิก

ทั้งหมดหรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐๐ คน ได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่

วิสามัญขึ้น ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วัน

ที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติคณะกรรมการ

๑๙.๑๖ มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สิน และการดำเนิน

กิจกรรมต่างๆ ของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถจะให้สมาชิกตรวจ

ดูได้เมื่อสมาชิกร้องขอ

๑๙.๑๗ จัดทำบันทึกการประชุมต่างๆ ของสมาคม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิก

ได้รับทราบ

๑๙.๑๘ มีหน้าที่อื่นๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้

ข้อ ๒๐. คณะกรรมการ จะต้องประชุมกันอย่างน้อย เดือนละ ๑ ครั้ง โดยให้จัดขึ้นภายก่อนวันสิ้นเดือน ของ

ทุกเดือน ทั้งนี้เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม

ข้อ ๒๑. การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการ

ทั้งหมดจึงจะถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้

เป็นอย่างอื่นก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานใน

การประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

ข้อ ๒๒. ในการประชุมคณะกรรมการถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่

สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกกันเอง เพื่อให้กรรมการ

คนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

ข้อ ๒๓. ในกรณีตำแหน่งกรรมการบริหาร ว่างลงและมีอายุการดำรงตำแหน่งตามวาระเกินกว่า ๑ ปี ให้

คณะกรรมการบริหารแต่งตั้งสมาชิกคนหนึ่งคนใดแทนตำแหน่งที่ว่างลง กรรมการผู้ได้รับแต่งตั้ง

ซ่อมนั้นจะดำรงตำแหน่งได้เท่ากับวาระผู้ที่ตนทดแทน คณะกรรมการการบริหารจะดำรงตำแหน่ง

ตั้งแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียนกรรมการของสมาคม ไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่

และให้คณะกรรมการการบริหารไปจนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่จะเข้ารับมอบหน้าที่

ข้อ ๒๔. อำนาจหน้าที่ของที่ปรึกษา

๒๔. ได้รับเชิญให้ร่วมประชุมกับคณะกรรมการบริหารเพื่อการพิจารณากิจกรรมของสมาคมและให้

ข้อคิดเห็นในการดำเนินงานต่างๆ ของสมาคม แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

๒๔. อยู่ในตำแหน่งได้เท่าวาระของคณะกรรมการบริหาร

๒๔. เมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้ว อาจรับเชิญให้เป็นที่ปรึกษาใหม่ก็ได้