หมวดที่ ๔
การประชุมใหญ่
ข้อ ๒๕. การประชุมใหญ่ของสมาคมมี ๒ ชนิด คือ
๒๕.๑ ประชุมใหญ่สามัญ
๒๕.๒ ประชุมใหญ่วิสามัญ (ให้ยกเลิกข้อ ๑๙. เดิมและแก้ไขเพิ่มเติมดังนี้)
๒๕.๓ ให้คณะกรรมการบริหารจัดประชุมวิสามันอย่างน้อย ๑๒ ครั้ง/ ต่อปี(เดือนละ ๑ ครั้ง) โดยให้
นายกสมาคม เป็นผู้กำหนด
๒๕.๔ องค์ประชุมของคณะกรรมการบริหารจะต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
๒๕.๕ มติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้
ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
๒๕.๖ คณะกรรมการจะต้องจัดให้การประชุมใหญ่สามัญประจำปีๆ ละ ๑ ครั้ง ภายในเดือนพฤศจิกายน /
ธันวาคม ของทุกๆ ปี
๒๕.๗ กรรมการบริหารไม่น้อยกว่า ๕ คน มีสิทธิขอให้เรียกประชุมคณะกรรมการบริหาร ได้เมื่อมี
เหตุผลอันสมควร ให้นายกสมาคมเรียกประชุมคณะกรรมการบริหาร ตามลำดับคำขอทันทีโดย
แจ้งไปยังกรรมการทุกคนไม่น้อยกว่า ๗ วัน ก่อนวันประชุม
ข้อ ๒๖. การประชุมใหญ่วิสามัญ อาจจะมีขึ้นได้ก็โดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้น หรือ
เกิดขึ้นด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๕ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐๐ คน ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดให้มีขึ้น
ข้อ ๒๗. การแจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบ
และการแจ้งจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวัน เวลา และสถานที่ให้ชัดเจน โดยจะต้อง
แจ้งให้สมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วัน และประกาศแจ้งกำหนดนัดประชุมไว้ ณ
สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๗ วัน ก่อนถึงกำหนดการประชุมใหญ่
ข้อ ๒๘. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
๒๘.๑ แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี
๒๘.๒ แถลงบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ
๒๘.๓ เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เมื่อครบกำหนดวาระ
๒๘.๔ เลือกตั้งผู้สอบบัญชี
๒๘.๕ เรื่องอื่นๆ ถ้ามี
ข้อ ๒๙. ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือการประชุมใหญ่วิสามัญจะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่
น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาการ
ประชุมแล้วยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้คณะกรรมการของสมาคม เรียกประชุม
ใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายใน ๑๔ วัน นับตั้งแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก สำหรับการ
ประชุมในครั้งหลังนี้ ถ้ามีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนเท่าใด ก็ให้ถือว่าครบองค์ประชุม ยกเว้น
ถ้าเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญที่เกิดขึ้นจากการร้องขอของสมาชิก ก็ไม่ต้องจัดประชุมใหญ่ ให้ถือว่าการ
ประชุมเป็นอันยกเลิก
ข้อ ๓๐. การลงมติ ต่างๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียง ข้างมากเป็นเกณฑ์แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ ๓๑. ในการประชุมใหญ่ของสมาคม ถ้านายกสมาคม และอุปนายกสมาคมไม่มาร่วมประชุม หรือไม่สามารถจะ ปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งให้ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น
ข้อ ๓๒. คณะกรรมการ ผู้ก่อการจัดตั้งสมาคม เมื่อหมดวาระ/ครบกำหนดสองสมัย หรือไม่ประสงค์ดำเนินงาน
ตำแหน่งอื่นใดในสมาคม เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติ คณะกรรมการผู้ก่อการจัดตั้งสมาคม และเพื่อให้การ
ดำเนินงานสมาคม เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ ของคณะผู้ก่อการจัดตั้งสมาคม จึงให้คงสถานะ
เป็นคณะที่ปรึกษาสมาคมกิตติมศักดิ์ โดยนายกสมาคม ผู้ก่อการจัดตั้งสมาคม ดำรงตำแหน่งเป็นนายก
กิตติมศักดิ์ และคณะกรรมการผู้ก่อการจัดตั้งสมาคม ดำรงตำแหน่งกรรมการกิตติมศักดิ์ ตลอดไปเพื่อให้
คำปรึกษาแก่คณะกรรมการสมาคม ในวาระอื่นต่อไป